THE DEATH OF THE DINOSAUR

Sunday, April 22, 2007

Fossils are the remains of creatures which existed long ago. Fossils range from thousands of years to many millions of years in age. The earliest fossils date from around 600 million years ago, however recent reports suggest bacteria may have existed up to 3 billion years earlier. To put this in context, the dinosaurs became extinct just 65 million years ago.
Not all former life was preserved as fossils, in fact the vast majority simply vanished without trace. The most likely materials to survive fossilisation are the hard parts such as shells and objects which in life were constructed from resistant materials, such as Coral. In order for softer materials to survive, the conditions must be extremely favourable.
Fossils come in a variety of sizes, from minute traces to large skeletons. Trace fossils are clues to former life, they result from the activities or presence of creatures and plants. Examples of these traces include footprints, burrows and root tunnels. At the larger end of the scale, fossils also include bones, the largest of which belong to the dinosaurs, which existed between the Triassic and Cretaceous periods.


THAIFOSSIL.COM แวบหนึ่งของบรรพชีวิน..!
ซากดึกดำบรรพ์ หรือ ฟอสซิล (Fossils)


my email : thaifossil@hotmail.com

เรารู้จักรูปแบบของสิ่งมีชีวิตในอดีต เพราะว่าซากชีวิตโบราณเหล่านั้นถูกเก็บรักษาไว้ในรูปของซากกระดูก เปลือกหอย ในชั้นหิน ที่ประกอบเป็นเปลือกโลกซึ่งเรียกกันว่า ซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิล(Fossil) เป็นบันทึกที่ทำให้เรารู้เรื่องราวอันสวยงามของพืชและสัตว์ ซึ่งเวียนว่ายอยู่ในมหาสมุทร หรืออาศัยอยู่บนผ่นดิน ย้อนกลับไปในม่านหมอกอันมืดมนของช่วงอดีตอันยาวไกล เผยให้เห็นชีวิตโบราณ ยุคแรกเริ่ม ตั้งแต่มหายุคพรีแคมเบรียน เมื่อกว่า 3,000 ล้านปีมาแล้ว เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลส์เพียงหนึ่งเดียว มีรูปแบบที่เรียบง่าย แล้วต่อมา จึงวิวัฒนาการเป็นชีวิตซับซ้อน ซากชีวิตเหล่านี้ถูกเก็บรักษาไว้ในหิน ให้นักโบราณชีววิทยา ผู้ซึ่งเป็นนักธรรมชาติวิทยาแห่งยุคโบราณ ศึกษาและจินตนาการ สร้างขึ้นมาเป็นภาพให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมโบราณ และความเป็นอยู่ของชีวิตที่เคยมีอยู่ในโลกแห่งอดีต เมื่อหลายสิบ หลายร้อยล้านปีมาแล้วโลกของเรากำเนิดมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว นักธรณีวิทยาได้ทำการศึกษาอายุของชั้นหิน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จากแร่กัมมันตรังสี และโดยการเปรียบเทียบซากดึกดำบรรพ์ซึ่งพบอยู่ในชั้นหิน ก็สามารถจัดแบ่งประวัติของโลกในแต่ละช่วงเวลา เป็นตารางอายุทางธรณีวิทยา หินชั้นที่มีอายุมากกว่า 600 ล้านปีจะไม่มีซากสิ่งมีชีวิตอยู่เลย เรียกว่าช่วงไม่มีสิ่งมีชีวิต (Cryptozoic หรือ hidden life) ซึ่งหมายถึงส่วนที่มีอายุมากกว่ายุคแคมเบรียน (Cambrian) ซากดึกดำบรรพ์ที่มีช่วงอายุสั้น กล่าวคือมันจะเจริญเติบโตอย่างมากในช่วงเวลาทางธรณีวิทยาหนึ่ง แต่หลังจากนั้นมันจะตาย หรือสูญพันธุ์จนหมด หรือเกือบหมด และเมื่อตายลงไปแล้ว ก็ทับถมอยู่ในหินเป็นซากดึกดำบรรพ์ต่อไป ซากเหล่านี้เรียกว่า ซากดัชนี (index fossil) ซึ่งจะมีความสำคัญมากในทางการกำหนดอายุของหินยุคของสิ่งมีชีวิตนั้นแบ่งออกได้เป็นสามมหายุคใหญ่ๆ คือ
1. มหายุคพาลีโอโซอิก (570-230 ล้านปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่กลุ่มพืชและสัตว์ส่วนใหญ่เริ่มปรากฎขึ้น ยกเว้นพวก พืชมีดอก และนก
2. มหายุคมีโสโซอิก (230-65 ล้านปีมาแล้ว) เป็นเวลาที่มีสิ่งมีชีวิตปัจจุบัน หลายกลุ่มเริ่มมีขึ้น และกล่าวได้ว่า เป็นช่วงเวลาของสัตว์เลื้อยคลานครองโลก เช่นไดโนเสาร์เป็นพวกสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่บนบก เพลสซิโอซอร์ และอิกซิโอซอร์ เป็นพวกสัตว์เลื้อยคลานทะเล เทอโรซอว์ เป็นพวกสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้ และนก ส่วนพืชเริ่มกำเนิดพืชมีดอก
3. มหายุคซีโนโซอิก (65 ล้านปีถึงปัจจุบัน) เป็นช่วงที่พืชดอกมีมากและเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงสัตว์บก จากยุคของสัตว์เลื้อยคลานมาเป็นยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จนกระทั่งในช่วง 5 ล้านปีสุดท้าย เป็นเวลาที่มนุษย์วานรเริ่มปรากฎขึ้นในโลกที่จริงแล้ว.. มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เพิ่งจะมีขึ้นในโลก ในเวลาท้ายๆ นี่เอง โดยมีปรากฎขึ้นมาเมื่อประมาณ 100,000 ปีที่แล้วนี้เอง ส่วนการเก็บรวบรวม และศึกษาฟอสซิล ก็จะเป็นเหมือนหน้าต่างเล็กๆ ที่เปิดสำหรับเราให้เห็นเพียงแวบหนึ่งของประวัติอันยาวนาน ภาพของพืชและสัตว์ที่ตายมานานแล้ว ที่เราเห็นกลายเป็นฟอสซิล เป็นแต่เพียงร่องรอยอันเลือนรางของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดต่างๆ ที่เคยอยู่อย่างมากมายบนโลกใบนี้...
ความเชื่อของการสะสมฟอสซิล คือ เป็นเพื่อนที่ดีในการลดช่องว่างระหว่างวัย ทำให้ลูกหลานและผู้ใหญ่มีความปรองดองเข้าใจกันอย่างดี ส่งเสริมความผูกพันในครอบครัว และช่วยให้การสื่อสารต่อกันเป็นไปโดยราบรื่น และเพื่อเป็นการโน้มนำเข้าสู่การปรับเปลี่ยนระหว่าง "ความมีชีวิตกับการละวางจากร่างกายไว้เบื้องหลัง"

ฟอสซิลค คืออะไร

ฟอสซิลค คือ การทับถมของซากสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในแหล่งน้ำ เมื่อสมัยดึกดำบรรพ์ ซึ่งถือเป็นการบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และธรณีวิทยาชนิดหนึ่งเมื่อสัตว์และพืชที่กล่าวถึงนั้นตายลง เมื่อเวลาผ่านไป ส่วนที่เปราะบางและอ่อนของร่างกายจะผุพัง เน่าสลายไป จะเหลือส่วนที่แข็งของร่างกาย เช่น กระดูก, กระดอง หรือ เปลือก เป็นต้น และเมื่อเวลาผ่านไป ส่วนที่เหลืออยู่ที่จะถูกทับถมด้วยทรายหรือโคลนเลนเป็นจำนวนมาก อยู่ด้านบนของซากสิ่งมีชีวิต แล้วน้ำจะถูกดูดซึมเข้าสู่ซากสิ่งมีชีวิต และแร่ธาตุจะกลายเป็นหิน ชั้นของโคลนเลนและทรายจะอัดตัวกันแน่น แล้วซากสิ่งมีชีวิตก็จะถูกฝังลงไปในชั้นของโคลนเลนและทรายลึกลงไปเรื่อย ๆ การทับถมนั้นจะแปรสภาพเป็น หินตะกอน ซึ่งเรามักจะพบฟอสซิลอยู่ในหินจำพวกนี้นักธรณีวิทยามีวิธีตรวจสอบอายุของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจากซากฟอสซิล และได้นำมาร่างเป็นรูปร่างลักษณะของสัตว์ดึกดำบรรพ์ได้ ทำให้เราสามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตสมัยดึกดำบรรพ์ได้ซากฟอสซิลที่อยู่ชั้นบนของชั้นหิน จะมีอายุน้อยกว่าฟอสซิลที่อยู่ลึกลงไปเราแบ่งจำพวกของฟอสซิล ออกเป็นจำพวกใหญ่ ๆ ตามลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ฝังตัวอยู่ได้ดังนี้๑. กระจุกขน๒.ปะการัง๓. ปลาและปลาดาว๔. พืช๕. หอย๖. แอมโมไนต์๗. สัตว์เลื้อยคลานในบางครั้ง หากว่าเราไม่สังเกตให้ดี เราอาจไม่ทราบว่าหินที่เราพบนั้นคือซากฟอสซิลก็ได้

ไดโนเสาร์คืออะไร ?

จากภาพยนต์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค ของสตีเว่น สปิลเบิร์ก ที่นำเข้ามาฉายในประเทศไทย เมื่อกลางปีที่ผ่านมานี้ ทำให้คนไทยเกิดการคลั่งไคล้ไดโนเสาร์หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคไดโนเสาร์ฟีเวอร์ เพราะนอกจากจะมีการกล่าวขานถึงทั้งในเด็กและผู้ใหญ่แล้ว ยังมีการสร้าง หุ่นจำลอง จัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ ตลอดจนภาพวาดและของเล่น ล้วนเกี่ยวข้องกับ ไดโนเสาร์แทบทั้งสิ้นบางท่านอาจจะสงสัยว่า ไดโนเสาร์ คืออะไร ในสมัยดึกดำบรรพ์มีจริงหรือไม่ สูญพันธุ์ ไปหมดแล้วจริงหรือ เราศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ได้อย่างไรและอีกหลากหลาย คำถามที่ต้องการค้นหาคำตอบ คำว่าไดโนเสาร์ ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2384 โดยนาย ริชาร์ด โอเวนนักกายวิภาค วิทยา ชาวอังกฤษ ตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกสัตว์ชนิดหนึ่งที่ขุดพบในรูปของซากดึกดำบรรพ์ เป็น โครงกระดูกขนาดใหญ่ โดยนายริชาร์ด ใช้คำว่า ไดโนเสาร์เพราะมาจากภาษาอังกฤษว่า dinosaurs เป็นคำผสมจากภาษากรีก ว่า deinos ซึ่งแปลว่า น่าเกลียดน่ากลัว กับคำว่า sauros แปลว่า กิ้งก่า ดังนั้น ไดโนเสาร์ จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า กิ้งก่าที่น่าเกลียด น่ากลัว ซึ่งอาจจะน่ากลัวในสายตาของนายริชาร์ด และอาจจะไม่น่ากลัวเลยในสายตาของนักวิทยาศาสตร์บางคนความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์นั้น ส่วนใหญ่ได้มาจากซากดึกดำบรรพ์ที่เรียกตามศัพท์วิทยาศาสตร์ว่า ฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นฟอสซิลโครงกระดูก รอยเท้า เปลือกไข่ อุจจาระ ตลอดจนกลายสภาพเป็นหินแข็งอยู่ภายใต้ผิวโลก ครั้นเวลาผ่านไปเปลือกโลกมีการเคลื่อนตัว ซากฟอสซิลเหล่านี้จึงปรากฏบนพื้นผิวโลกให้เห็นตามที่ต่าง ๆ เป็นหลักฐานศึกษาการวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ได้เป็นอย่างดีความจริงแล้วมนุษย์เคยค้นพบกระดูก และรอยเท้าไดโนเสาร์มาเป็นเวลานานแล้ว เพียง แต่ว่าผู้คนยุคต้น ๆ นั้น คิดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ของกิ้งก่า มังกรหรือแม้กระทั่งนกกาเหว่า ยักษ์ จนกระทั่ง นายริชาร์ด ได้ให้ความเห็นว่า โครงกระดูกของสัตว์เหล่านั้น เป็นของสัตว์ กลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงใกล้ชิดกับพวกกิ้งก่า

dinosaur ALIVE!!

Banner Links

Thaifossil Books

Thaifossil DVDs

Powered by WebRing.